วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

วันอังคาร ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย

ชื่อวิจัย  :   ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่เล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต
ผู้วิจัย    :   ปณิชา มโนสิทธยากร

ความสำคัญของการวิจัย   :   เพื่อศึกษาผลของการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์                  จากการเล่นเกมการศึกษา เน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต การเปรียบเทียบ การจำแนก การจัดหมวดหมู่ การเรียงลำดับ การบอกตำแหน่งการนับเลข ของเด็กปฐมวัย ซึ่งจะเป็นแนวทางในการส่งเสริม           ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย สำหรับครู ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

กลุ่มตัวอย่าง  :   นักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนจิ้นเตอะ เขตสาทร จังหวัดกรุงเทพมหานคร   สังกัดสำนักบริหารงาน
คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 จำนวน 30 คน

สรุปผลการวิจัย   :   การจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนรูปเรขาคณิต พบว่า เด็กปฐมวัยมีการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น ร้อยละ 89.53 ของความสามารถพื้นฐานเดิม         ก่อนการทดลอง โดยเด็กปฐมวัย มีการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้านการจัดหมวดหมู่มากเป็นอันดับแรก   รองลงมาคือด้านการรู้ค่าจำนวน ด้านการเปรียบเทียบ ด้านการบอกตำแหน่ง และ  ด้านการเรียงลำดับตามลำดับ

วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


บันทึกการเรียนครั้งที่  16
วัน  อังคาร  ที่  19 เดือน  กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

- พูดคุยเรื่องเสื้อสูท
- พูดคุยตกลงเวลาในการไปศึกษาดูงาน กีฬาสีเอก บายเนียร์ ปัจฉิม และนัดสอบปลายภาย สรุปได้ดังนี้
    วันที่        26 กุมภาพันธ์ 2556     สอบปลายภาย
    วันที่        2   มีนาคม     2556      กีฬาสีเอก เริ่ม 8.30 หรือ 9 โมง    
    วันที่        3   มีนาคม     2556       ปัจฉิม    
    เย็นวันที่  5   มีนาคม     2556      ไปดูงานที่ลาว 

- อาจารย์แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น ให้เขียนว่าเมื่อเรียนวิชานี้แล้ว
      ได้ความรู้อะไร
      ได้ทักษะอะไร
และ วิธีการสอนอะไร

                        

บันทึกการเรียนครั้งที่  15
วัน  อังคาร  ที่  12 เดือน  กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

หน่วย อวัยวะภายนอก
วันที่ ชนิดของอวัยวะภายนอกร่างกาย
เพลง ตาดูหูฟัง
     เรามีตาไว้ดู          เรามีหูไว้ฟัง
คุณครูท่านสอนท่านสั่ง
เราตั้งใจฟัง               เราตั้งใจดู
- ครูให้เด็กๆบอกว่ารู้จักอวัยวะภายนอกอะไรบ้าง
-  ครูให้เด็กๆดูบัตรภาพ จากนั้นครูถามว่า “อวัยวะที่เด็กในภาพนี้ มีชื่อเรียกว่าอะไร และเด็กๆมีอวัยวะต่างๆ เหมือนกับเด็กในภาพหรือไม่” 
วันที่ ลักษณะของอวัยวะภายนอกร่างกาย
- บอกคุณครูซิค่ะว่า อวัยวะภายนอกมีอะไรบ้าง เด็กๆลองสังเกตเพื่อนๆซิค่ะ ลองจับดูซิค่ะว่าเป็นอย่างไร สีอะไร 
- สรุปโดยใช้แผนภูมิรูปวงกลม เวลาจะพูดเริ่มจากส่วนที่เกมือนกันก่อน แล้วค่อยๆไล่ไปทีละอย่าง
วันที่ 3 หน้าที่ของอวัยวะภายนอกร่างกาย
- ไหนบอกคุณครูซิค่ะว่า........(ชื่ออวัยวะภายนอก)......ลักษณะอย่างไรบ้าง (ทบทวน)
- ร้องเพลงที่เกี่ยวกับหน้าที่ของอวัยวะภายนอก แล้วทบทวนในเพลงว่ามีหน้าที่อะไรบ้าง
- สรุปโดยใช้คำพูดว่า ไหนเด็กๆบอกคุณครูซิค่ะ อวัยวะต่างๆมีหน้าที่อะไรบ้าง 
วันที่ 4 ประโยชน์ของอวัยวะภายนอกร่างกาย
- เนื่องจากประโยชน์เป็นข้อความรู้ ถ้าเรามียืนอ่านให้เด็กฟัง เด็กก็จะจำไม่ได้ แล้วอีกอย่าง จะทำให้เด็กเบื่อการเรียน แต่เราจะนำข้อความรู้นี้ไปใส่ในนิทาน หรือบทบาทสมมติ 
วันที่ 5 วิธีการดูแลรักษาของอวัยวะภายนอกร่างกาย
- mind map การดูแลรักษาอวัยวะภายนอกร่างกาย โดยการพูดคุยกับเด็ก การดูแลรักษานี้ เราจะสอนให้เด็กได้ปฎิบัติจริงก็ได้

บันทึกการเรียนครั้งที่  14
วัน  อังคาร  ที่  5 เดือน  กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


- ไม่ได้เข้าเรียน         (คัดลอกบันทึกมาจาก นางสาวศุภกาญจน์)

- พูดเรื่องศึกษาศาสตร์ทาแลนต์
- เพื่อนสอบสอน 
หน่วย กระดุม
การนำเข้าสู่บทเรียน
    อาจจะใช้ภาพตัดต่อ ร้องเพลงเพื่อให้เด็กหลับตา จากนั้นครูเอาภาพกระดุมที่ไม่สมบูรณ์ มาให้เด็กๆ เมื่อเด็กๆเปิดตาก็ให้เด้กคนที่หนึ่งออกมา แล้วถามเพื่อนๆในห้องว่า ในมือของใครมีภาพที่สามารถต่อภาพนี้ได้สมบูรณืบ้าง แล้วก็ออกมาต่อ จนครบทุกคน แล้วครูก็ถามเด็กๆว่า ภาพที่เด็กๆเห็นคือภาพอะไร รู้จักไหม เคยเห็นที่ไหน ลองดูที่เสื้อผ้าเด็กๆซิค่ะ ว่ามีมั้ย
การสอน
  - เด็กๆรู้จักกระดุมอะไรบ้างค่ะ เมื่อเด็กตอบ ครูก็มีหน้าที่จดบันทึก 
  - เอากระดุมใส่ขวดทึบไว้ แล้วถามว่า เด็กอยากทราบไหมว่าในขวดนี้มีกระดุมเท่าไร เด็กก็จะตอบมา แล้วครูก็บอกว่า งั้นเรามานับกัน 1 2 3 4 5........(เมื่อนับแล้วครูต้องวางเรียงจากขวาของครูไปทางซ้าย) ถ้ากระดุมมันเล็กอาจจะใส่ถุงซิปล็อค การใส่ถุงนั้น ให้เด็กใส่เองก็ได้ เตรียมมา อาจจะเอากระดุมมาน้อยกว่าถุง หรือถุงน้อยกว่ากระดุมก็ได้ แล้วลองถามเด็กๆดูว่า ถ้าใส่ไม่พอ เด็กๆต้องหาถุงเพิ่มอีกเท่าไร หรือต้องหากระดุมเพิ่มอีกเท่าไร
  - วางเรียงเสร็จแล้วก็แทนค่าด้วยตัวเลข หลังจากนั้นก็จัดประเภท คิดเกณฑ์ขึ้นมา 1 เกณฑ์ ซึ่งการทำแบบนี้ เป็นพื้นฐานการบวก และการลบ ดังรูป


พื้นฐานการลบ

พื้นฐานการบวก

- เพลงหลับตาเสีย
                                                                (ฐะปะนีย์ นาครทรรพ)
        หลับตาเสียอ่อนเพลียทั้งวัน         นอนหลับฝันเห็นเทวดา
มาร่ายมารำ                                          งามขำโสภา
พอตื่นขึ้นมา                                        เทวดาไม่มี
บันทึกการเรียนครั้งที่  13
วัน  อังคาร  ที่  29 เดือน  มกราคม พ.ศ. 2556

- พูดคุยเรื่องกีฬาสีเอก บายเนียร์ และกิจกรรมอื่นๆ
- คัดเลือกการแสดงความสามารถของเอกปฐมวัยโดยมีการแสดงดังนี้ 
- รำ >>> สว่างจิตร 
- ร้องเพลง >>> รัตติยา
- โฆษณา >>> นิศาชล,ละมัย
- การแสดงลิบซิ้ง >>> จุฑามาศ, นีรชา
- เต้นประกอบเพลง >>> พลอยปภัส,เกตุวดี,มาลินี
- ละครใบ้ >>> อัจฉรา,จันทร์สุดา
- ตลก >>> ชวนชม, ดาราวรรณ
- ผู้กำกับหน้าม้า >>> พวงทอง,นฎา
- หน้าม้า >>> เพื่อนๆที่ไม่มีหน้าที่
- พูดคุยสนทนากันเรื่องการแสดง ว่าสอดคล้องกับคณิตศาสตร์อย่างไร โดยแบ่งเป็นสาระของสสวท.



บันทึกการเรียนครั้งที่  12
วัน  อังคาร  ที่  22 เดือน  มกราคม พ.ศ. 2556

- กลุ่มของข้าพเจ้าสอบสอน
           


- การรวมการแยกเป็นพื้นฐานของการบวก การลบ
- มาตรฐาน สสวท.
- เวลาจะติดตัวเลขกำกับค่าของ ให้ติดที่ตัวสุดท้าย เพราะเด็กจะได้รู้ว่า เมื่อนับมาถึงสุดท้ายแล้ว มันจะมีค่าเท่าไร
- การสอน ถ้าสอนเรื่องลักษณะของสิ่งต่างๆ ให้ส่งให้เด็กดม สัมผัส สังเกต
- การสอน ถ้าเป็นเศษส่วน ให้สอดคล้องตรงที่ แบ่งของ เช่น ให้เด็กชิมเค้ก เป็นต้น
- อาจารย์แนะนำสื่อที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์