วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

วันอังคาร ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย

ชื่อวิจัย  :   ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่เล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต
ผู้วิจัย    :   ปณิชา มโนสิทธยากร

ความสำคัญของการวิจัย   :   เพื่อศึกษาผลของการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์                  จากการเล่นเกมการศึกษา เน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต การเปรียบเทียบ การจำแนก การจัดหมวดหมู่ การเรียงลำดับ การบอกตำแหน่งการนับเลข ของเด็กปฐมวัย ซึ่งจะเป็นแนวทางในการส่งเสริม           ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย สำหรับครู ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

กลุ่มตัวอย่าง  :   นักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนจิ้นเตอะ เขตสาทร จังหวัดกรุงเทพมหานคร   สังกัดสำนักบริหารงาน
คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 จำนวน 30 คน

สรุปผลการวิจัย   :   การจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนรูปเรขาคณิต พบว่า เด็กปฐมวัยมีการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น ร้อยละ 89.53 ของความสามารถพื้นฐานเดิม         ก่อนการทดลอง โดยเด็กปฐมวัย มีการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้านการจัดหมวดหมู่มากเป็นอันดับแรก   รองลงมาคือด้านการรู้ค่าจำนวน ด้านการเปรียบเทียบ ด้านการบอกตำแหน่ง และ  ด้านการเรียงลำดับตามลำดับ

วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


บันทึกการเรียนครั้งที่  16
วัน  อังคาร  ที่  19 เดือน  กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

- พูดคุยเรื่องเสื้อสูท
- พูดคุยตกลงเวลาในการไปศึกษาดูงาน กีฬาสีเอก บายเนียร์ ปัจฉิม และนัดสอบปลายภาย สรุปได้ดังนี้
    วันที่        26 กุมภาพันธ์ 2556     สอบปลายภาย
    วันที่        2   มีนาคม     2556      กีฬาสีเอก เริ่ม 8.30 หรือ 9 โมง    
    วันที่        3   มีนาคม     2556       ปัจฉิม    
    เย็นวันที่  5   มีนาคม     2556      ไปดูงานที่ลาว 

- อาจารย์แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น ให้เขียนว่าเมื่อเรียนวิชานี้แล้ว
      ได้ความรู้อะไร
      ได้ทักษะอะไร
และ วิธีการสอนอะไร

                        

บันทึกการเรียนครั้งที่  15
วัน  อังคาร  ที่  12 เดือน  กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

หน่วย อวัยวะภายนอก
วันที่ ชนิดของอวัยวะภายนอกร่างกาย
เพลง ตาดูหูฟัง
     เรามีตาไว้ดู          เรามีหูไว้ฟัง
คุณครูท่านสอนท่านสั่ง
เราตั้งใจฟัง               เราตั้งใจดู
- ครูให้เด็กๆบอกว่ารู้จักอวัยวะภายนอกอะไรบ้าง
-  ครูให้เด็กๆดูบัตรภาพ จากนั้นครูถามว่า “อวัยวะที่เด็กในภาพนี้ มีชื่อเรียกว่าอะไร และเด็กๆมีอวัยวะต่างๆ เหมือนกับเด็กในภาพหรือไม่” 
วันที่ ลักษณะของอวัยวะภายนอกร่างกาย
- บอกคุณครูซิค่ะว่า อวัยวะภายนอกมีอะไรบ้าง เด็กๆลองสังเกตเพื่อนๆซิค่ะ ลองจับดูซิค่ะว่าเป็นอย่างไร สีอะไร 
- สรุปโดยใช้แผนภูมิรูปวงกลม เวลาจะพูดเริ่มจากส่วนที่เกมือนกันก่อน แล้วค่อยๆไล่ไปทีละอย่าง
วันที่ 3 หน้าที่ของอวัยวะภายนอกร่างกาย
- ไหนบอกคุณครูซิค่ะว่า........(ชื่ออวัยวะภายนอก)......ลักษณะอย่างไรบ้าง (ทบทวน)
- ร้องเพลงที่เกี่ยวกับหน้าที่ของอวัยวะภายนอก แล้วทบทวนในเพลงว่ามีหน้าที่อะไรบ้าง
- สรุปโดยใช้คำพูดว่า ไหนเด็กๆบอกคุณครูซิค่ะ อวัยวะต่างๆมีหน้าที่อะไรบ้าง 
วันที่ 4 ประโยชน์ของอวัยวะภายนอกร่างกาย
- เนื่องจากประโยชน์เป็นข้อความรู้ ถ้าเรามียืนอ่านให้เด็กฟัง เด็กก็จะจำไม่ได้ แล้วอีกอย่าง จะทำให้เด็กเบื่อการเรียน แต่เราจะนำข้อความรู้นี้ไปใส่ในนิทาน หรือบทบาทสมมติ 
วันที่ 5 วิธีการดูแลรักษาของอวัยวะภายนอกร่างกาย
- mind map การดูแลรักษาอวัยวะภายนอกร่างกาย โดยการพูดคุยกับเด็ก การดูแลรักษานี้ เราจะสอนให้เด็กได้ปฎิบัติจริงก็ได้

บันทึกการเรียนครั้งที่  14
วัน  อังคาร  ที่  5 เดือน  กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


- ไม่ได้เข้าเรียน         (คัดลอกบันทึกมาจาก นางสาวศุภกาญจน์)

- พูดเรื่องศึกษาศาสตร์ทาแลนต์
- เพื่อนสอบสอน 
หน่วย กระดุม
การนำเข้าสู่บทเรียน
    อาจจะใช้ภาพตัดต่อ ร้องเพลงเพื่อให้เด็กหลับตา จากนั้นครูเอาภาพกระดุมที่ไม่สมบูรณ์ มาให้เด็กๆ เมื่อเด็กๆเปิดตาก็ให้เด้กคนที่หนึ่งออกมา แล้วถามเพื่อนๆในห้องว่า ในมือของใครมีภาพที่สามารถต่อภาพนี้ได้สมบูรณืบ้าง แล้วก็ออกมาต่อ จนครบทุกคน แล้วครูก็ถามเด็กๆว่า ภาพที่เด็กๆเห็นคือภาพอะไร รู้จักไหม เคยเห็นที่ไหน ลองดูที่เสื้อผ้าเด็กๆซิค่ะ ว่ามีมั้ย
การสอน
  - เด็กๆรู้จักกระดุมอะไรบ้างค่ะ เมื่อเด็กตอบ ครูก็มีหน้าที่จดบันทึก 
  - เอากระดุมใส่ขวดทึบไว้ แล้วถามว่า เด็กอยากทราบไหมว่าในขวดนี้มีกระดุมเท่าไร เด็กก็จะตอบมา แล้วครูก็บอกว่า งั้นเรามานับกัน 1 2 3 4 5........(เมื่อนับแล้วครูต้องวางเรียงจากขวาของครูไปทางซ้าย) ถ้ากระดุมมันเล็กอาจจะใส่ถุงซิปล็อค การใส่ถุงนั้น ให้เด็กใส่เองก็ได้ เตรียมมา อาจจะเอากระดุมมาน้อยกว่าถุง หรือถุงน้อยกว่ากระดุมก็ได้ แล้วลองถามเด็กๆดูว่า ถ้าใส่ไม่พอ เด็กๆต้องหาถุงเพิ่มอีกเท่าไร หรือต้องหากระดุมเพิ่มอีกเท่าไร
  - วางเรียงเสร็จแล้วก็แทนค่าด้วยตัวเลข หลังจากนั้นก็จัดประเภท คิดเกณฑ์ขึ้นมา 1 เกณฑ์ ซึ่งการทำแบบนี้ เป็นพื้นฐานการบวก และการลบ ดังรูป


พื้นฐานการลบ

พื้นฐานการบวก

- เพลงหลับตาเสีย
                                                                (ฐะปะนีย์ นาครทรรพ)
        หลับตาเสียอ่อนเพลียทั้งวัน         นอนหลับฝันเห็นเทวดา
มาร่ายมารำ                                          งามขำโสภา
พอตื่นขึ้นมา                                        เทวดาไม่มี
บันทึกการเรียนครั้งที่  13
วัน  อังคาร  ที่  29 เดือน  มกราคม พ.ศ. 2556

- พูดคุยเรื่องกีฬาสีเอก บายเนียร์ และกิจกรรมอื่นๆ
- คัดเลือกการแสดงความสามารถของเอกปฐมวัยโดยมีการแสดงดังนี้ 
- รำ >>> สว่างจิตร 
- ร้องเพลง >>> รัตติยา
- โฆษณา >>> นิศาชล,ละมัย
- การแสดงลิบซิ้ง >>> จุฑามาศ, นีรชา
- เต้นประกอบเพลง >>> พลอยปภัส,เกตุวดี,มาลินี
- ละครใบ้ >>> อัจฉรา,จันทร์สุดา
- ตลก >>> ชวนชม, ดาราวรรณ
- ผู้กำกับหน้าม้า >>> พวงทอง,นฎา
- หน้าม้า >>> เพื่อนๆที่ไม่มีหน้าที่
- พูดคุยสนทนากันเรื่องการแสดง ว่าสอดคล้องกับคณิตศาสตร์อย่างไร โดยแบ่งเป็นสาระของสสวท.



บันทึกการเรียนครั้งที่  12
วัน  อังคาร  ที่  22 เดือน  มกราคม พ.ศ. 2556

- กลุ่มของข้าพเจ้าสอบสอน
           


- การรวมการแยกเป็นพื้นฐานของการบวก การลบ
- มาตรฐาน สสวท.
- เวลาจะติดตัวเลขกำกับค่าของ ให้ติดที่ตัวสุดท้าย เพราะเด็กจะได้รู้ว่า เมื่อนับมาถึงสุดท้ายแล้ว มันจะมีค่าเท่าไร
- การสอน ถ้าสอนเรื่องลักษณะของสิ่งต่างๆ ให้ส่งให้เด็กดม สัมผัส สังเกต
- การสอน ถ้าเป็นเศษส่วน ให้สอดคล้องตรงที่ แบ่งของ เช่น ให้เด็กชิมเค้ก เป็นต้น
- อาจารย์แนะนำสื่อที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์

บันทึกการเรียนครั้งที่  11
วัน  อังคาร  ที่  15 เดือน  มกราคม พ.ศ. 2556

- เพื่อนออกไปสอนได้ 1 กลุ่ม  (หน่วย ขนมไทย)
- อาจารย์แนะวิธีการสอนที่สอดคล้องกับคณิตศาสตร์ และการพูดหน้าชั้นเรียนที่จะให้สอดคล้องกับคณิตศาสตร์

บันทึกการเรียนครั้งที่  10
วัน  อังคาร  ที่  8 เดือน  มกราคม พ.ศ. 2556

- ส่งดอกไม้ 3 ดอก ที่อาจารย์สั่งในสัปดาห์ที่แล้ว
- พูดคุยเกี่ยวกับเรื่อง มาตรฐานคณิตศาสตร์ของ  สสวท.



*งานที่ได้รับมอบหมาย
หมายเหตุ : ให้ไปเตรียมตัวสอนในหน่วยของตนเอง เพื่อสอบในคาบต่อไป

บันทึกการเรียนครั้งที่  9
วัน  อังคาร  ที่  1 เดือน  มกราคม พ.ศ. 2556

                                   หมายเหตุ : ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันหยุดปีใหม่ 2556

                                       
บันทึกการเรียนครั้งที่  7
วัน  อังคาร  ที่  18 เดือน  ธันวาคม พ.ศ. 2555


หมายเหตุ: ไม่มีการเรียนการสอน 
เนื่องจากอาจารย์ติดธุระและอาจารย์ได้ให้ทำงานที่มอบหมายไว้ให้

บันทึกการเรียนครั้งที่  6
วัน  อังคาร  ที่  11 เดือน  ธันวาคม พ.ศ. 2555

- ส่งแผนการจัดประสบการณ์หน่วยของตนเอง

- เอากล่องที่สั่งให้เอามา แล้วอ.ถามว่า
       เห็นกล่องแล้วนึกถึงอะไร?
       อยากให้กล่องนี้เป็นอะไร? 
       ใช้ทำอะไร?

           **การที่จะถามเด็กนั้น เราควรใช้คำถามที่เด็กรู้สึกไม่กดกัน ไม่กลัวผิด ใช้คำถามที่เด็กได้คิด ได้ตอบตามจินตนาการของ แล้วเด็กก็จะมีความสุขในการตอบ ไม่รู้สึกกลัวว่าจะตอบผิด เด็กจะเชื่อมโยงกับสิ่งที่เคยรู้มา เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้คิด 
- การสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยนั้น ต้องสอนให้ถูกวิธีการเรียนรู้ ตามธรรมชาติของเด็ก ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5

ลำดับ การต่อกล่อง
ครั้งที่ 1
- ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกัน แล้วนำกล่องมาต่อ โดยไม่ปรึกษากัน  ให้ต่อตามจินตนาการของตนเอง แล้วจะได้ผลงานมา 1 ชิ้น หลังจากนั้นก็ถามที่ละคน ว่าตอนที่กำลังจะต่อกล่อง อยากให้เป็นอะไร ซึ่งคำตอบของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับจินตนาการของคนต่อ
ครั้งที่ 2
- ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่ม ต่อกล่องโดยปรึกษากัน ว่าจะต่อเป็นรูปอะไร การต่อกล่องแบบนี้ จะทำให้เด็กเกิดการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น รู้จักการรอคอย และการต่อกล่องนี้ ยังช่วยเสริมประสบการณ์ทางด้านคณิตศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นการแยกประเภทของรูปทรงของกล่อง กานับกล่อง การวัด การจับคู่ เป็นต้น
ครั้งที่ 3
- ให้นักศึกษาทั้งห้อง เอาผลงานของแต่ละกลุ่มมารวมกันเป็นงานชิ้นเดียว และให้นำกล่องหรืออุปกรณ์ต่างๆที่มีอยู่มาประกอบการสร้างชิ้นงาน การต่อกล่องแบบนี้ เป็นการเสริททักษะทางคณิตศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นการจัดประเภทของกล่อง การจับคู๋ การวัด รูปทรงและเนื้อที่ เป็นต้น
บันทึกการเรียนครั้งที่  5
วัน  อังคาร  ที่  4 เดือน  ธันวาคม พ.ศ. 2555



-อาจารย์ให้ออกไปนำนำเสนองานที่สั่งในสัปดาห์ที่แล้ว (ความเรียง)
หน่วยข้าว

ความรู้ที่ได้รับ
- การวากภาพ  คือ  การถ่ายทอดประสบการณ์



- ถ้าจะให้เด็กรับรู้เนื้อหาที่ต้องการจะสอนต้องผ่านนิทาน

- ประสบการณ์ด้านอารมณ์ของเด็ก คือ การแสดงออกทางความรู้สึกและการรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น


- ประสบการณ์ด้านร่างกายของเด็ก คือ น้ำหนัก-ส่วนสูง , การเคลื่อนไหว


- ประสบการณ์ด้านสังคมของเด็ก  คือ การอยู่ร่วมกัน , การทำงานร่วมกับผู้ือื่น และคุณธรรมจริยธรรม


- ประสบการณ์ด้านสติปัญญาของเด็ก คือ การคิด ภาษา


                           
บันทึกการเรียนครั้งที่  4
วัน  อังคาร  ที่  27 เดือน  พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

- อาจารย์แจกกระดาษ A4 คนละแผ่นและให้นักศึกษาเขียน Mind Map ในหน่วยของตนเอง
-อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอในหน่วยที่ตนเองได้รับมอบหมายและอาจารย์ก็ให้ข้อเสนอแนะในแต่ละกลุ่ม

หน่วยของข้าพเจ้า  หน่วยข้าว


หน่วยบ้าน
- การนับ => บ้านหลังนี้มีหน้าต่างกี่บาน
- ตัวเลข => บ้านหลังนี้มีบ้านเลขที่ 417
- การจับคู่ => เด็กๆจับคู่บ้านตึกแถวที่มีสีเดียวกัน
- การจัดประเภท => คุณครูมีภาพบ้านอยู่ในตะกร้า ให้เด็กๆนำภาพที่เป็นตึกแถวมาวางบนโต๊ะ
- การเปรียบเทียบ => คุณครูมีภาพ 2 ภาพ ให้เด็กๆเปรียบเทียบระหว่างกับภาพที่ 1 กับภาพที่ 2 ภาพไหนเล็กกว่ากัน
- การจัดลำดับ => ตอนเช้าฉันทำความสะอาดห้องน้ำ หลังจากนั้นตอนบ่ายฉันไปล้างจานในครัว
- รูปทรงและเนื้อที่ => เด็กๆคิดว่าส่วนประกอบของบ้ายมีอะไรบ้าง
- การวัด => คุณครูมีภาพบ้าน 2 ภาพ วางห่างกัน ให้เด็กๆวัดระยะห่างของบ้านทั้ง 2 หลังโดยใช้นิ้ว
- เซต => วันนี้จะมีแขกมาเยี่ยมห้องของเราคุณครูจะให้เด็กๆช่วยกันจัดชุดกาแฟ 2 ชุด
- เศษส่วน => ฉันปลูกบ้านตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยแบ่งพื้นที่เป็น 4 ส่วนเท่าๆกัน คือ
ส่วนที่ 1 ปลูกผัก ส่วนที่ 2 เลี้ยงปลา ส่วนที่ 3 เลี้ยงวัว และส่วนที่ 4 ปลูกบ้าน- การทำตามแบบหรือลวดลาย => ให้เด็กๆวาดภาพต่อเติมบ้านที่หายไปให้สมบูรณ์
- การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ => คุณครูแบ่งดินน้ำมันให้คนละก้อนเท่าๆกันโดยให้เด็กๆปั้นรูปบ้านตามจิตนาการของตนเอง
หน่วยนาฬิกา
- การนับ => มีนาฬิกาอยู่ในบ้านกี่เรือน
- ตัวเลข => เลข 9 อยู่ใกล้เลขอะไรในนาฬิกา
- การจับคู่ => นาฬิกาดิจิตอลไปใส่ในกล่องรูปดาว
- เชต => นาฬิกาแขวนผนังและนาฬิกาข้อมือส่วนใหญ่ทำมาจากวัสดุที่ทำมาจากไม้
- เศษส่วน => มีนาฬิกา 10 เรือนแบ่งเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน
- การทำตามแบบหรืลวดลาย => ให้เด็กวาดรูปนาฬิกาในกรอบสี่เหลี่ยม
- การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้าปริมาณ => เมื่อเวลาผ่านไปทรายในนาฬิกายังเท่าเดิม
หน่วยแมลง
- การเปรียบเทียบ => แมลงเต่าทองกับแมลงปอแมลงชนิดไหนมีขนาดเล็กกว่ากัน
- การจัดลำดับ => การจัดแมลงที่มีขนาดเล็กไปถึงขนาดใหญ่
- รูปทรงและเนื้อที่ => แมลงแต่ละชนิดมีรูปทรงอะไรบ้าง
- การวัด => ให้เด็กวัดความยาวลำตัวของแมลงโดยใช้นิ้ว
- เซต => ให้เด็กๆเตรียมอุปกรณ์ในการจับแมลง
- เศษส่วน => มีแมลง 10 ตัวแบ่งออกเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน
- กาารทำตามแบบหรือลวดลาย => ให้เด็กสังเกตต่อภาพจิ๊กซอตามตัวอย่าง
หน่วยกุหลาบ
- การนับ => ให้เด็กๆช่วยกันนับว่าในช่อกุหลาบมีกุหลาบกี่ดอก

- ตัวเลข => ให้เด็กๆนำตัวเลขฮินดูอารบิกมาติดแทนค่าจำนวนดอกกุหลาบ
- การจับคู่ => ให้เด็กจับคู่ภาพดอกกุหลาบที่มีจำนวนเท่ากัน
- การเรียงลำดับ => ให้เด็กๆเรียงลำดับจากเล็กไปหาใหญ่
- รูปทรง => ส่วนประกอบของดอกกุหลาบมีรูปร่างอย่างไร
- การวัด => ให้เด็กๆวัดความยาวของกุหลาบโดยการใช้ไม้บรรทัด
- การจัดประเภท => ให้เด็กจัดกลุ่มดอกที่มีสีแดง
- เศษส่วน => มีดอกกุหลาบทั้งหมด 10 ดอก และให้เด็กๆแบ่งเป็น 2 กองเทาาๆกัน
- กาารทำตามแบบและลวดลาย => นำวัสดุที่เป็นดอกกุหลาบมาประกอบให้เป็นดอกกุหลาบ
- การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ => นำดอกกุหลาบมาใส่แจกันที่มีความแตกต่างกัน
- เซต => เครื่องมือในการปลูกดอกกุหลาบ
- การเปรียบเทียบ => ดอกกุหลาบดอกไหนใหญ่กว่ากัน
- เนื้อที่ => แปลงดอกกุหลาบ 1 แปลงปลูกกุหลาบได้กี่ต้น
หน่วยยานพาหนะ
- การนับ => เด็กๆช่วยกันนับล้อรถว่ามีกี่ล้อ
- ตัวเลข => ฉันขึ้นรถเมล์สาย 206

- จับคู่ => ให้เด็กๆจับภาพจำนวนหมวกกันน็อคกับตัวเลขฮินดูอารบิก
- การจัดประเภท => ให้เด็กๆหยิบภาพรถที่มีล้อ 2 ล้อมาติดที่ครูกำหนด
- การเปรียบเทียบ => เด็กๆคิดว่ารถไฟกับรถเมล์รถชนิดใดมีล้อมากกว่ากัน
- การเรียงลำดับ => ในช่วงเช้าฉันทำความสะอาดรถในช่วงบ่ายไปตรวจสภาพรถ
- รูปทรง => รถไฟมีรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า
- เซต => การทำความสะอาดมีอุปกรณ์อะไรบ้าง

- การเปรียบเทียบ => รถมอเตอร์ไซค์วิ่งเร็วกว่าจักยานแต่มีล้อ 2 ล้อเหมือนกัน
หน่วยขนมไทย
- การนับ => การนับจำนวนชนิดของขนม
- จำนวน => ให้เด็กนำตัวเลขฮินดูอารบิกมาติดตามจำนวนขนมที่อยู่ในถาด
- จับคู่ => เด็กๆจับคู่ขนมที่เหมือนกัน
- การจัดประเภท => ให้เด็กๆแยกขนมที่นิ่มออกมาใส่จาน
- การเปรียบเทียบ => ให้เด็กๆเปรียบเทียบขนาดของขนมเล็กใหญ่และนำมาเปรียบเทียบชิ้นไหนใหญ่กว่ากัน
- การจัดลำดับ => ให้เด็กๆเรียงชิ้นขนม จากเล็ก-ใหญ่
- รูปทรง => ให้เด็กๆหยิบขนมที่มีรูปทรงสี่เหลี่ยม
- เนื้อที่ => เด็กๆคิดว่าถาด 1 และถาด 2 ถาดไหนใส่ขนมมากกว่ากัน
- เซต => เด็กๆคิดว่าอุปกรณ์ในการทำขนมมีอะไรบ้าง
- การทำตามแบบและลวดลาย => ให้เด็กๆแต่่งลวดลายตามอิสระ
- เศษส่วน => ถ้าเด็กๆมีขนม 4 ชิ้นจะแบ่งขนมให้เท่าๆกันอย่างไร
- การอนุรักษ์และการคงที่ด้านปริมาณ => การทำวุ่นใส่แม่พิมพ์คนละรูปแต่ตัวเนื้อวุ้นมีขนาดเท่ากัน
หน่วยกล้วย
- การนับ => กล้วยในตะกร้ามีกี่ลูก
- ตัวเลข => เด็กๆหยิบเลขฮินดูอารบิกมาติดที่หวีของกล้วย

- จับคู่ => ให้เด็กๆจับคู่กล้วยหอมเล็กกับเล็ก ใหญ่กับใหญ่
- การจัดลำดับ => เรียงกล้วยที่มีขนาดเล็กไปหาใหญ่
- รูปทรง => ตัดต้นกล้วยที่มีรูปทรงกลมมาทำกระทง
- การวัด => ให้เด็กๆวัดผลกล้วยโดยการใช้ไม้บรรทัด
- เซต => การจัดเซตอุปกรณ์ในการทำกล้วยบวชชี
- เศษส่วน => กล้วย 1 หวี แบ่งครึ่งให้เท่าๆกันและแบ่งให้เด็ก 2 คน
- การทำตามแบบและลวดลาย => วาดภาพต่อเติมต้นกล้วยตามที่ครูกำหนด
- การอนุรักษ์และการคงที่ด้านปริมาณ => กล้วยฉาบแบ่งใส่ขวดโหล กล้วยกวนแบ่งใส่กล่อง